วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กล้วยไม้สกุลกุหลาบ (Aerides)

            กล้วยไม้สกุลกุหลาบ เป็นกล้วยไม้ที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทยและประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ อาจขึ้นเป็นต้นเดียวโดดๆ หรือขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ มีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว บางต้นมียอดเดียว บางต้นแตกเป็นกอ มีหลายยอด เมื่อต้นสูงหรือยาวขึ้นจะห้อยย้อยลงมา แต่ปลายยอดยังคงชี้ขึ้นข้างบน ช่อดอกส่วนใหญ่โค้งปลายช่อห้อยลงมา รากเป็นระบบรากอากาศ ดอกมีขนาดปานกลาง มักมีกลิ่นหอม มีเดือยดอกเรียวแหลมหรือปลายงอนออกมาทางด้านหน้าของดอก ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ กลีบดอกผึ่งผายสวยงามสะดุดตา เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย มีบทบาทสำคัญในการผสมพันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ สามารถผสมในสกุลเดียวกัน และผสมข้ามสกุลต่างๆ เช่น ผสมกับสกุลแวนด้าเป็นสกุลแอริโดแวนด้า (Aeridovanda) ผสมกับสกุลช้างเป็นสกุลแอริโดสไตลิส (Aeridostylis) สำหรับกล้วยไม้สกุลกุหลาบที่พบตามธรรมชาติในประเทศไทยมีดังนี้
กุหลาบกระเป๋าปิด(Aerides odorata Lour. )
                กุหลาบกระเป๋าปิดเป็นกล้วยไม้ชนิดเดียว
ในสกุลกุหลาบที่ส่วนปลายปากแคบกว่าหู และทั้ง
2 ส่วนพับขึ้นมาปิดเส้าเกสรไว้ พบขึ้นอยู่ทุกภาค
ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในลาว กัมพูชา
เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า
อินเดีย เนปาล และภูฎาน
               กุหลาบกระเป๋าปิดมีลำต้นบิดเป็นเกลียว
เล็กน้อย ต้นห้อยย้อยลง มักแตกแขนงเป็นหลาย
ยอด ต้นอาจยาวถึง 1 เมตรครึ่ง ใบยาวประประมาณ
15-25 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร เรียงสลับ
ซ้ายขวา ปลายใบหยักไม่เท่ากัน ใบค่อนข้างบาง
ไม่แข็งทื่อ ขอบใบบิดเล็กน้อย โคนใบหุ้มต้น ออก
ดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ช่อดอก
ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตรและห้อยลง แต่ละ
ช่อมีประมาณ 30 ดอก แต่ละดอกกว้างประมาณ 3
เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว ปลายกลีบเป็นสีม่วง
อมแดงอ่อนๆ ส่วนปลายปากเป็นสีม่วง เดือยดอก
โค้งงอนขึ้นคล้ายเขาดอกมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นดอกกุหลาบและบานนานประ
มาณ 1-2 สัปดาห์
               สำหรับกุหลาบกระเป๋าปิดที่พบทางภาคเหนือ จะมีลักษณะแตกต่างออก
ไปเล็กน้อย คือต้นจะตั้งตรงและบิดน้อยกว่า ใบสั้นกว่าและหนากว่า ก้านส่งช่อ
ดอกแข็งทำให้ช่อดอกโค้งลงเพียงเล็กน้อย
กุหลาบเหลืองโคราช(Aerides houlettiana Rchb. f )
                กุหลาบเหลืองโคราชมีลักษณะดอกคล้าย
กุหลาบกระเป๋าเปิด แต่มีพื้นกลีบเป็นสีเหลืองแทนที่
จะเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นตะไคร้ ความยาว
ของใบและของช่อดอกจะสั้นกว่ากุหลาบกระเป๋าเปิด
ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และพบใน ประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม
               กุหลาบเหลืองโคราชออกดอกประมาณ
เดือนเมษายนถึงกรกฎาคม จุดเด่นของกุหลาบเหลือง
โคราชอยู่ตรงที่มีสีเหลือง ในแต่ละต้นจะมีความผิด
เพี้ยนกันไป คือ อาจมีสีเหลืองเข้ม เหลืองอ่อน หรือ
บางต้นแทบไม่มีสีเหลืองเลย ในการคัดพันธุ์ควรเลือก
สีเหลืองเข้มเป็นหลัก เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ในประเทศ
ไทยมีชนิดนี้เพียงชนิดเดียวที่ดอกมีสีเหลือง
กุหลาบแดง(Aerides crassifolia Parish ex Burbidge)
                กุหลาบแดงเป็นกุหลาบที่มีเดือยดอกยาว
เห็นได้ชัดเจน เดือยงอนขึ้นและไม่ซ่อนตัวอยู่ใต้
ปลายปาก ใบยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร กว้าง
ประมาณ 4-5 เซนติเมตร ใบหนา ผิวใบอาจย่นมาก
หรือน้อย โดยย่นตามขวางของใบ ในประเทศไทย
พบที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รวมทั้งที่นครนายกและกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบ
ในประเทศพม่า ลาว และเวียดนาม
               กุหลาบแดงออกดอกในเดือนเมษายนถึง
พฤษภาคม มีช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งมีประมาณ 10 ดอก
เท่านั้น ดอกมีสีม่วงแดง การจัดระเบียบดอกในช่อ
ไม่งดงามเหมือนกล้วยไม้กุหลาบชนิดอื่น
กุหลาบอินทจักร(Aerides flabellata Rolfe ex Downie)
                กุหลาบอินทจักรเป็นกุหลาบเดือยยาวชนิด
เดียวที่ฝาครอบอับเรณูกว้างและมนซึ่งชนิดอื่นจะ
แหลมเป็นปากกา ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาค
เหนือ และพบในพม่า ลาว และมณฑลยูนานของจีน
               กุหลาบอินทจักรมีก้านช่อดอกค่อนข้างแข็ง
ช่อดอกตั้ง ออกดอก 5-10 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบ
ดอกมีลักษณะคล้ายกัน สีเขียวอมเหลืองและมีแต้ม
สีน้ำตาลอมม่วง กลีบปากเป็น 3 หยัก สีขาวมีจุดสี
ชมพูอมม่วง ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ดอกขนาด 2-3
เซนติเมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤกษภาคม
               จุดเด่นของกุหลาบชนิดนี้อยู่ที่เดือยยาวและ
งอน จนปลายเดือยชี้กลับเข้าไปหาตัวดอก อาจเรียก
ว่า กล้วยไม้เดือยงาม ก็ได้  
กุหลาบมาลัยแดง(Aerides multiflora Roxb.)
               กุหลาบมาลัยแดงมีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบ
น่าน แตกต่างกันที่ปลายปาก คือ ปากของกุหลาบน่าน
เป็นรูปสามเหลี่ยม แต่ปากของกุหลาบมาลัยแดงเป็น
รูปหัวใจ ปลายสุดของปากป้านและหยักกลาง ในประ
เทศไทยพบกระจายพันธุ์แถบภาคเหนือ อีสาน
นครนายก ชลบุรี และกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบใน
ประเทศเนปาล สิกขิม ภูฎาน อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา
และเวียดนาม
               กุหลาบมาลัยแดงมีลำต้นแข็งแรง ใบหนาโค้ง
ซ้อนกันถี่ ใบกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ยาวประ
มาณ 15-25 เซนติเมตร ช่อดอกโค้งห้อยยาวประมาณ
20-30 เซนติเมตร ก้านช่อมักมีสีคล้ำเกือบดำ ออกดอก
เบียดชิดกันแน่นช่อ โดยทั่วไปจะมีกลีบดอกสีม่วงแดง
มักจะมีสีจางจนถึงขาวที่โคนกลีบ และสีจะเข้มขึ้นจนสุดที่ปลายกลีบช่อดอกจะแตก
แขนงถ้าเลี้ยงให้สมบูรณ์และอากาศเย็น ออกดอกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
ต้นที่ดอกมีสีขาวล้วนเรียกว่า “มาลัยเผือก”
กุหลาบชมพูกระบี่ กุหลาบพวงชมพู(Aerides
krabiense Seidenf.)
               กุหลาบชมพูกระบี่หรือพวงชมพู พบครั้งแรกที่
จังหวัดกระบี่ และต่อมาได้พบที่จังหวัดใกล้เคียงกัน
เช่นที่พังงา และเกาะต่างๆ ในบริเวณนั้น รวมทั้งที่เกาะ
ลังกาวี ประเทศมาเลเซียด้วย โดยจะพบขึ้นอยู่ตาม
หน้าผาริมทะเลที่ได้รับแสงแดดเต็มที่
               กุหลาบชมพูกระบี่มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบ
เทียบกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลกุหลาบที่พบใน
ประเทศไทย เป็นกุหลาบที่ต้นมักแตกเป็นกอ ใบแคบ
หนา โค้งงอและห่อเป็นรูปตัววี ปลายใบแหลม กว้าง
ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติ
เมตร ผิวใบมีจุดประสีม่วงแดงอยู่ทั่วไปและปรากฎมากขึ้นเมื่อถูกแดดจัดหรือ
อากาศแห้งแล้งเช่นเดียวกับใบเข็มแดง
               กุหลาบชมพูกระบี่ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ช่อดอก
ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ช่อเอนขนานไปกับใบ ปลายช่อโค้งลง บางต้น
พบช่อดอกแตกแขนงด้วย มีเดือยดอกสั้นมาก ปลายปากกว้างมน ดอกมีพื้นขาว
มีจุดประสีม่วงแดง หรือชมพูเข้มกลางแผ่นปากมีสีแดงเข้ม ดอกคล้ายกุหลาบ
มาลัยแดง หรือกุหลาบน่าน จุดสังเกตที่เด่นชัดคือลักษณะของปลายปากที่แตก
ต่างกัน คือ กุหลาบน่านปลายปากเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน กุหลาบมาลัยแดง
ปลายปากป้านและหยักกลาง ส่วนกุหลาบชมพูกระบี่ปลายปากกว้างและมน
กุหลาบน่าน กุหลาบเอราวัณ กุหลาบไอยรา
(Aerides rosea Loddiges ex Lindl. & Paxt.)
               กุหลาบน่านเป็นพวกที่มีเดือยดอกสั้นมาก
เห็นเป็นตุ่มขนาดใหญ่ มีปลายปากเป็นรูปสาม
เหลี่ยมชัดเจน ปลายใบหยักกลางแต่หยักไม่เท่ากัน
ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ และภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือตอนบนเท่านั้น และพบน้อยมาก
นอกจากนี้ยังพบในภูฎาน อินเดีย พม่า ลาว เวียด
นาม และมณฑลยูนนานของจีน
               กุหลาบน่านช่อดอกมีก้านส่งแข็ง ชี้เฉียง
ลง แต่ส่วนช่อที่ติดดอกจะโค้งห้อยลง ถ้าต้น
สมบูรณ์ ช่อดอกจะแตกแขนง ดอกเบียดกันแน่นช่อ
ดอกใหญ่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว
มีแต้มสีม่วงแดง ที่ปลายกลีบมีจุม่วงแดงประปราย ปากสีม่วงแดง ออกดอกใน
เดือนมีนาคมถึงมิถุนายน
กุหลาบกระเป๋าเปิด(Aerides falcata Lindl.)
               กุหลาบกระเป๋าเปิดพบขึ้นอยู่ในทุกภาคของ
ประเทศไทยและยังพบในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย
พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม เป็นกล้วยไม้ที่มี
ปลายปากกว้างอ้าออก ยื่นไปข้างหน้า มีเดือยดอก
ค่อนข้างตรง ซ่อนอยู่ใต้ปลายปาก อยู่ชิดขนานกับ
ปลายปาก ใบยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร กว้าง
2-4 เซนติเมตร
               กุหลาบกระเป๋าเปิดออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ช่อ
ดอกห้อย ช่อรูปทรงกระบอก กลีบปากมี 3 แฉก เปิดกว้าง ริมแผ่นปากเป็นฝอย
มีลายสีม่วงแดงแล้วจางเป็นสีขาว พื้นกลีบดอกเป็นสีขาว มีแต้มสีม่วงอมชมพู
ที่ปลายกลีบ ขนาดดอกประมาณ 2.5 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น